Wednesday, June 13, 2007

โอโซน

โอโซนเป็นก๊าซสีน้ำเงินเข้ม พบได้ทั่วไปในบรรยากาศโลก และเป็นอันตรายต่อปอด หากเราหายใจเข้าไปมาก ๆ ก๊าซโอโซนที่อยู่ในบรรยากาศระดับสูงเรียกว่า ชั้นสตราโซเฟียร์ จะจับตัวกันเป็นก้อนโอโซนปกคลุมทั่วโลก ในบางแห่งจะหนา และบางในบางแห่งชั้นโอโซนจะทำหน้าที่ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ซึ่งรังสีนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น และทำให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต เช่น ทำให้คนและสัตว์เป็นมะเร็งผิวหนัง ตาเป็นต้อหรือมัวลง และทำให้เกิดการเปลียนแปลงของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสารทีถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต มีผลทำให้พืชและสัตว์กลายพันธ์ไปจากเดิม ตลอดจนเกิดการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ และทำลายจุลินทรีย์ต่างๆ ในปี ค.ศ 1974 มาริโอ โมลินา กับเพื่อนร่วมงานชื่อ เชอร์วุ้ด โรว์แลนด์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ ได้ทำการวิจัยพบว่า สารชนิดหนึ่งชื่อว่า สาร CFCs คือตัวการทำลายชั้นโอโซนส่งผลให้เขาและเพื่อนได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมีปี ค.ศ 1995 ในฐานะผู้ค้นพบสาร CFCs เป็นคัวการทำลายชั้นบรรยากาศ








สาร CFCs มีชื่อทางการค้าว่า ฟรีรอน ซึ่งครั้งหนึ่งถือว่าเป็นสารมหัศจรรย์ เพราะไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษต่อผู้สูดดมเข้าไป ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง จึงมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น ใช้เป็นสารทำให้เกิดความเย็น ในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโฟม พลาสติก ใช้เป็นสารทำลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เป็นสารขับดันในสเปรย์กระป๋อง เช่น สีพ่น สเปรย์ฆ่าแมลง สเปรย์ฉีดผม และอื่นๆ อีกจำนวนมาก







การใช้สารกลุ่ม CFCs มีความสามารถทำลายชั้นบรรยากาศได้เพราะมีคลอรีน (chlorine) เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล เมื่อสารนี้ลอยขึ้นไปสู่ชั้นสตราโตสเฟียร์และถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ก็จะแตกตัวทำให้เกิดคลอรีนอิสระ และคลอรีนนี้จะไปทำลายได้โอโซน ทำให้ไม่สามารถที่จะกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตได้







ด้วยเหตุแห่งความรุนแรงของสาร CFCs ต่อโอโซนในบรรยากาศของโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ จำนวน 31 ประเทศ ได้ส่งตัวแทนไปประชุมกันที่เมือง มอนทรีออล ประเทศแคนนาดา ในเดือนกันยายน ค.ศ 1987 และได้ร่วมกันจัดตั้งอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการป้องกันบรรยากาศชั้นโอโซน ซึ่งภายใต้อนุสัญญานี้ ได้มีการจัดทำพิธีสารมอนทรีออลขึ้น โดยระบุประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเลิกผลิตและการใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซน






พิธีสารมอนทรีออล มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ 1989 โดยประเทศไทยร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ 1988 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ 1989 และมีผลบังคับให้ต่อประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ 1989โดยประ จากผลของอนุสัญญาฯ องสค์การสหประชาชาติ จึงได้กำหนดให้วันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็น "วันโอโซนโลก" พิธีสารมอนทรีออล ได้มีการแก้ไขฉบับต่อ ๆ มา ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมที่ใช้สารพวกนี้ เป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้วางแผนการลดและเลิก ใช้สารทำลายโอโซน โดยคาดว่า ในปี ค.ศ 1998 ประเทศไทยจะสามารถเลิกใช้สารนี้ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นการใช้สาร CFCs ในอุปกรณ์ห้องเย็น ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกียวข้องกับการให้บริการเติมน้ำยาแอร์แก่อุปกรณ์เดิม คาดว่าจะเลิก ใช้ทั้งหมดภายในปี ค.ศ 2010 ตามพิธีสารฯ กำหนด




(สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง)

No comments: